เทคโนโลยีสมัยใหม่

Title of the document เทคโนโลยีสมัยใหม่

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563

เทคโนโลยีอวกาศ

เทคโนโลยีอวกาศ


เทคโนโลยีอวกาศ คือการสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่นอกโลกของเราและสำรวจโลกของเราเองด้วย ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศได้มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆมากขึ้น โดยองค์การที่มีส่วนมากในการพัฒนาทางด้านนี้คือองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดทำโครงการขึ้นมากมาย ทั้งเพื่อการสำรวจดาวที่ต้องการศึกษาโดยเฉพาะและที่ทำขึ้นเพื่อศึกษาสิ่งต่างๆในจักรวาล
1. กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง
     เป็นอุปกรณ์ที่สามารถขยายวัตถุที่อยู่ในระยะไกล เซอร์ ไอเซค นิวตัน เป็นผู้ประดิษซ์กล้องชนิดนี้ เป็นบุคคลแรก บางที่เราก็เรียก กล้องแบบนี้ว่า กล้องแบบนิวโทเนียน ประกอบด้วยกระจกเว้า กระจกระนาบ และ เลนซ์นูน
2. กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง
     เป็นอุปกรณ์ที่สามารถขยายวัตถุที่อยู่ในระยะไกล กาลิเลโอ เป็นบุคคลแรกที่ประดิษฐกล้องชนิดนี้ขึ้น ประกอบด้วยเลนซ์นูนอย่างน้อยสองชิ้น คือ เลนซ์วัตถุ (Object Lens)เป็นเลนซ์ด้านรับแสงจากวัตถุ ซึ่งจะมีความยาวโฟกัสยาว (Fo) และเลนซ์ตา (Eyepieces) เป็นเลนซ์ที่ติดตาเราเวลามอง ซึ่งมีความยาวโฟกัสสั้น (Fe) กว่าเลนซ์วัตถุมากๆ
3. กล้องโทรทรรศน์แบบผสม
    เป็นกล้องโทรทรรศน์คุณภาพสูงที่ถูกออกแบบมาให้ใช้หลักของการหักเหและสะท้อนแสงร่วมกัน โดยหลักการโดยรวมแล้ว จะใช้กระจก 2 ชุด สะท้อนแสงกลับ ไป-มา ช่วยให้ลำกล้องสั้น เเละส่วนมากจะสามารถควบคุมระบบได้เเบบดิจิตอล เราจะพบว่า กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่มี ความยาวโฟกัสมาก ดังเช่น กล้องโทรทรรศน์บนหอดูดาวต่างๆๆ มักจะเป็นกล้องชนิดนี้
4.ดาวเทียม
   ดาวเทียมคือ วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นไปโครจรรอบโลก เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การรายงานสภาพอากาศ หรือเพื่อการลาดตระเวนทางทหาร ดาวเทียมเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ จะทำหน้าที่ในการ สังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่นๆ รวมถึงวัตถุประหลาดต่างๆ ในกาแลคซี่ หรือระบบสุริยจักรวาล
5.จรวดและยานอวกาศ
   จรวด เราหมายถึงอุปกรณ์สำหรับสร้างแรงขับดันเท่านั้น หน้าที่ของจรวดคือ การนำยานอวกาศ ดาวเทียม หรืออุปกรณ์ประเภทอื่นขึ้นสู่อวกาศ แรงโน้มถ่วง (Gravity) ของโลก ณ พื้นผิวโลกมีความเร่งเท่ากับ 9.8 เมตร/วินาที 2 ดังนั้นจรวดจะต้องมีแรงขับเคลื่อนสูงมาก เพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก
6.นักบินอวกาศ
    นักบินอวกาศ คือ บุคคลที่เดินทางไปกับยานอวกาศ ไม่ว่าจะไปในฐานะใด และไม่ว่าจะไปด้วยยานอวกาศแบบไหน ทั้งที่โคจรรอบโลก (ในระยะสูงจากพื้นราว 80-100 กิโลเมตรขึ้นไป)หรือที่เดินทางออกไปยังตำแหน่งอื่นใดนอกวงโคจรของโลก





เทคโนโลยีสมัยใหม่

      ความหมายของเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ เพื่อแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตและดัดแปลงเทคโนโลยีในระดับพื้นฐาน

     ความสำคัญของเทคโนโลยี
1.ประสิทธิภาพ(Efficiency)
       เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้ เที่ยงตรงและรวดเร็ว


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยี

2.ประสิทธิผล(Productivity)
       เกิดผลผลิตเต็มที่ ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3.ประหยัด(Economy)
      ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประหยัด

เทคโนโลยีโทรคมนาคมสมัยใหม่    

 1.การสื่อสารผ่านดาวเทียม (satellite-based communication) เนื่องจากท้องที่ทางภูมิศาสตร์เต็มไปด้วยภูเขา หุบเขา หรือเป็นเกาะอยู่ในทะเลการสื่อสารที่ดีวิธีหนึ่งคือการใช้ดาวเทียม ดาวเทียมได้รับการส่งให้โคจรรอบโลก โดยมีการเคลื่อนที่ไปพร้อมกับการหมุนของโลก ทำให้ดาวเทียมอยู่ในตำแหน่ง
คงที่เมื่อมองจากพื้นโลก ดาวเทียมจะมีเครื่องถ่ายทอดสัญญาณติดตั้งอยู่ การสื่อสารโดยผ่านดาวเทียมจะทำโดยการส่งสัญญาณสื่อสารจากสถานีภาคพื้นดินแห่งหนึ่งขึ้นไปยังดาวเทียม เมื่อดาวเทียมรับก็จะส่งกลับมายังสถานีภาคพื้นดินอีกแห่งหนึ่งหรือหลายแห่ง เราจึงใช้ดาวเทียมเพื่อแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ได้
การรับจะครอบคลุมพื้นที่ที่ดาวเทียมลอยอยู่ ซึ่งจะมีบริเวณกว้างมากและทำได้โดยไม่มีอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ เช่น มีแนวเขาบังสัญญาณดาวเทียมจึงเป็นสถานีกลางที่ถ่ายทอดสัญญาณจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สื่อสารผ่านดาวเทียม

2.การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง (fiber optic) เส้นใยนำแสงมีลักษณะเป็นท่อแก้วที่อ่อนตัวอยู่ในสายที่หุ้มด้วยพลาสติก ลักษณะของท่อแก้วหุ้มด้วย
สารพิเศษที่ทำให้เกิดการหักเหของแสงอยู่ภายในท่อแก้ว ดังนั้นเราสามารถส่งแสงจากปลายด้านหนึ่งให้ไปปรากฏที่ปลายอีกด้านหนึ่งได้ แม้ว่าเส้นใยนำแสงนั้น
จะคดงอไปอย่างไรก็ตามก็จะส่งแสงเข้าไปในท่อแก้วได้ เมื่อมีการนำเอาข้อมูลเข้าไปผสมกับแสง เพื่อให้แสงกระพริบตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลทำให้เรารับส่งสัญญาณข้อมูลไปกับแสงได้ การรับส่งข้อมูลเข้าไปในแสงทำได้มากและรวดเร็ว
3.ระบบสื่อสารไร้สาย (wireless communication)  เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่าย
ระบบที่รู้จักและใช้งานกันแพร่หลายคือ ระบบแลนไร้สาย (wireless LAN) เป็นระบบเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายด้วยสัญญาณวิทยุ
สามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบด้วยความสูงถึง 11 เมกะบิตต่อวินาทีระบบเครือข่ายไร้สายที่รู้จักและนำมาประยุกต์ใช้กันมากอีกระบบหนึ่งคือ ระบบบลูทูธ (bluetooth) เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายในระยะใกล้ เพื่อลดการใช้สายสัญญาณ และสร้างความสะดวกในการใช้งาน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สื่อสารไร้สาย


ประโยขน์เทคโนโลยีสมัยใหม่
1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์  คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์          ต่าง ๆ
2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน
3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก
4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร  ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่ง         ยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ
6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มี                ประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ


เทคโนโลยีใหม่เพื่อสมาร์ทโฟนแห่งอนาคต โทรศัพท์ไร้แบตเตอรี่


เทคโนโลยีใหม่เพื่อสมาร์ทโฟนแห่งอนาคต โทรศัพท์ไร้แบตเตอรี่

     โทรศัพท์มือถือไร้แบตเตอรี่ คือผลงานของนักวิจัยที่ University of Washington วิทยาเขต Seattle ซึ่งใช้งานได้จริง แต่ยังอยู่ในวงจำกัด คือทดลองใช้กันในกลุ่มนักวิจัยกลุ่มนี้เท่านั้น ซึ่งคาดว่าหากใช้งานได้ดีจริงก็อาจมีการผลิตทางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างเป็นเรื่องเป็นราวโทรศัพท์มือถือแบบใหม่นี้ใช้วิธีกักเก็บพลังงานจากสัญญาณวิทยุ หรือที่รู้จักกันว่าคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งอยู่รอบๆ ตัวเรา และส่งผ่านเสาส่งสัญญาณคลื่น FM AM คลื่นโทรทัศน์ ตลอดจนเสาสัญญาณโทรศัพท์สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ‘โทรศัพท์มือถือไร้แบตเตอรี่’ ที่ว่านี้ คือเทคโนโลยีต้นแบบที่ใช้หลักการทำงานง่ายๆ โดยดูภายนอกคล้ายกับแผงวงจรไฟฟ้า ผู้ใช้ต้องสวมใส่หูฟังและมีปุ่มกดสลับเวลาพูดและเวลาฟังอีกฝ่ายหนึ่งโต้ตอบกลับมานักวิจัยกลุ่มนี้บอกว่ามีแผนจะพัฒนาโทรศัพท์ต้นแบบนี้ให้ทันสมัยและมีลูกเล่นเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงการติดตั้งหน้าจอแบบใช้พลังงานต่ำ และกล้องถ่ายรูปแบบง่ายๆ นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาโทรศัพท์มือถือไร้แบตเตอรี่ที่ติดตั้งแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดจิ๋วเอาไว้เป็นแหล่งพลังงานด้วยนักวิจัยตั้งเป้าไว้ว่าจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ในอีก 8 – 9 เดือนข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจะส่งผลสะเทือนต่อวงการโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันไม่มากก็น้อยโดยหนึ่งในนักวิจัยกลุ่มนี้คาดหวังว่า ในอนาคต โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องจะมีเทคโนโลยีหรือฟังก์ชั่นที่ช่วยให้ไม่ต้องพึ่งพาพลังงานจากแบตเตอรี่อีกต่อไป